วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการปฏิบัติงานวันที่ 3-4 ม.ค 2560

สรุปรายงานการปฏิบัติงานประจำวัน
วันที่ 3-6 มกราคม 2560 เวลา 07.30-16.30 


ข้อมูลส่วนตัว :- ชื่อ นายวิทยา บุญรัมย์ ชื่อเล่นว่า ล้าน จบจาก .ราชภัฎบุรีรัมย์ วิชาเอก ชีววิทยาประยุกต์ ภูมิลำเนา 28 .17 บ้านใหม่อัมพวัน .ทะเมนชัย .ลำปลายมาศ .บุรีรัมย์ เบอร์โทร 092-1561018 ID Line: civic2522 E-Mail: wit.boonram@gmail.com

ความรู้สึก :- เมื่อเดินผ่านประตูโรงเรียนจะพบกับคำว่า "ไม่มีหินก้อนใดโง่โรงเรียนนอกกะลา บนก้อนหินขนาดใหญ่ เป็นคำสั้นๆ  กระชับมีความหมายซ่อนอยู่ในคำ  ทำให้รู้สึกภูมิใจและดีใจทุกครั้งที่เห็น

วันที่ 3 .. 60 วันแรกของการทำงานในส่วนงานสนับสนุนกับคุณครูอ้อน งานที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้
1.ศึกษาพื้นที่หน้างานจริง บริเวณโซนมัธยม/โซนฟาร์มเพื่อใช้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ (โดยเน้นให้เป็นแหล่งเรียนรู้จริงเน้นความปลอดภัย/ความเรียบร้อยและการสื่อสารกับผู้ร่วมงานเป็นหลัก)
2.พูดคุยกำหนดขั้นตอนสู่ความสำเร็จในรูปแบบ PLC. คือ วางแผน ประเมินเบื้องต้น ประเมินละเอียด ศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อใช้ในการลงมือปฏิบัติและติดตามประเมินผลงานต่อไป
3.ศึกษาหน้าที่รับผิดชอบและการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยได้สรุปออกแบบ  Time line การปฏิบัติงานของตนเอง
   
วันที่ 4 ..60  วันแห่งการเรียนรู้ในรูปแบบ โรงเรียนนอกกะลา ผ่านห้องประชุมในช่วงเช้า ดังนี้ 
1) กิจกรรมช่วงที่1 หน่วยมายา คุณครูผึ้งนำเสนอชี้แจงว่าคล้ายๆ PBL. พร้อมสรุปใจความมายา มาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทุกสิ่งล้วนสมมุติทั้งสิ้น ดังนั้นเราจะรู้เท่าทันสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยปัญญา(ไต่ตรองการนำเสนอในรูปแบบการสอนที่จะให้บรรลุผลนั้น คุณครูผึ้งแนะนำให้ตั้งโจทย์ไต่ระดับคำถามไปเรื่อยๆ เช่น นักเรียนเห็นอะไรรู้สึกอย่างไรได้อะไรจากกิจกรรมนี้เป็นต้น พร้อมกันนี้ได้ยกโจทย์
สำคัญขึ้นมา 9 ข้อ ดังนี้
จิตวิญญาณมาจากเจตน์จำนงหรือไม่?
การตั้งคำถามเพื่อจะสื่อสารความคิด ความรู้สึก จิตวิญญาณต่างกันอย่างไร?
อะไรทำงานร่วมกับจิตวิญญาณของมนุษย์?
ระหว่างความเชื่อกับความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นก่อน
ความคิดและจิตวิญญาณทำงานสอดประสาทกับจิตสัมผัสอย่างไร?
คำถามรูปแบบใดที่สร้างผลกระทบต่อจิตวิญญาณ?
เราจะเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่ เพื่อตั้งคำถามและหาคำตอบในสิ่งที่บุคคลอื่นไม่เคยเห็นจะเริ่มต้นอย่างไร?
แบบแผนพฤติกรรมอย่างไรส่งผลต่อการทำงานเชิงจิตวิญญาณ?
เหนือกว่าจิตวิญญาญาณคืออะไร?
(โดยครูใหญ่ให้แบ่งกลุ่ม.. พร้อมถามตอบในแต่ละกลุ่มเป็นข้อๆไปจนครบทุกข้อและทุกกลุ่ม)
ครูใหญ่ให้ sheet ที่ 1 Who am I ? พร้อมตั้งโจทย์ถามตอบ  เช่น
มนุษย์กับสัตว์มีจิตวิญาณไหม
เจตน์จำนงมาจากไหน?(คำตอบ:ระดับความต้องการของมนุษย์
3  Who am I?(คำตอบ:ภาษาไทยมี~50,000 คำ เราไม่สามารถนิยามคำได้ทุกคำ ดั้งน้ันเราสัมผัสความ
จริงได้ แต่นิยามมันไม่ได้ 
4 Truth :ความจริงตามธรรมชาติ 
ความจริงตามธรรมชาติ คือความไม่รู้
ข้อเท็จจริง คือ ความรู้ด้วยวิชาการนั้นๆ
จากนั้นครูใหญ่ให้ sheet ที่ 2 ตื่นรู้/ตระหนักรู้   เป็นข้อๆดังนี้
การเชื่อมสัมผัสกับธรรมชาติ
อยู่กับโหมดรู้(สติ)
สติภาวนา (ใจจดจ่อ/กำลังทำ เช่น เด็กปลูกผัก)
การเสียสละ (สงเคราะห์โดยไม่หวังผลตอบแทน)
ชุมชนPLC.(การเห็นร่วมโดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้)
การสนทนา ไม่เน้นโต้เถียง เน้นการฟัง ฟังอย่างมีสติ ไม่ตัดสินจากคนข้างหลัง
การทำงานศิลปะ
การกระตุกปัญญา (จากเรื่องเล่าโกอาน / เซ็น:ความเข้าใจตามจริงธรรมชาติ เป้าหมายเซ็น คือบรรลุ
ธรรม รู้แจ้งหรือซาโตริ)
2) กิจกรรมช่วงที่ 2 ด้านจิตศึกษา โดยคุณครูต๋อย ผ่านกิจกรรมการแบ่งกลุ่ม ดังนี้ 
แบ่งกลุ่มๆละประมาณ 4 คน 
นั่งเป็นวงกลม หลับตาวางมือประสานกันทำสมาธิ  สักครู่คุณครูต๋อยให้ลืมตาแล้วทำการวาดรูปมือบน
แผ่นกระดาษ A4 เขียนชื่อคนที่เราต้องการขอบคุณและต้องการขอโทษ 1นิ้ว ต่อ 1ชื่อ พร้อมระบุคำว่า
ขอโทษหรือขอบคุณลงไปด้วย เขียนคละกันจนครบทุกนิ้ว จากนั้นให้ทุกคนแต่ละกลุ่มเล่าเรื่องบุคคลที่
ต้องการขอบคุณและต้องการขอโทษมาอย่างละตัวอย่างเล่าสู่กันฟังหมุนเวียนจนครบทุกคน จากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องเล่าที่สมาชิกในกลุ่มคัดเลือกมา 1เรื่องให้สมาชิกกลุ่มอื่นๆฟัง
แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม(กลุ่มอนุบาล กลุ่มประถม กลุ่มมัธยม)
นั่งเป็นวงกลม ในกลุ่มหนึ่งๆกำหนดให้พูดคุยสื่อสารประเด็นเนื้อหาสาระด้านการเรียนการสอนสมาชิกในกลุ่มจะต้องเล่าจนครบทุกคน จากนั้นให้ทำการเสนอแนะแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มเพื่อจะใช้วาง
แผนสื่อการเรียนรู้และการสอนใน Quater4.ต่อไป
ช่วงบ่าย:- สำรวจออกแบบ Layout plan โซนมัธยมและโซนฟาร์มสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา 
ปรับปรุงให้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ต่อไป 

ประโยชน์ที่ได้รับ:-แม้จะยังไม่ทราบรายละเอียดในแต่ละเรื่องมากนักแต่จะพยายามศึกษาหาความรู้ใน
แต่ละเรื่องให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อไป

บันทึกรายงานโดย:- ครูล้าน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น